Icon Close

กระบวนการฝ่ายนิติบัญญัติไทยเปรียบเทียบ

กระบวนการฝ่ายนิติบัญญัติไทยเปรียบเทียบ
5.00
Icon RatingIcon RatingIcon RatingIcon RatingIcon Rating
1 Rating
ประเภทไฟล์
pdf
วันที่วางขาย
23 มกราคม 2563
ความยาว
237 หน้า
ราคาปก
179 บาท (ประหยัด 44%)
กระบวนการฝ่ายนิติบัญญัติไทยเปรียบเทียบ
กระบวนการฝ่ายนิติบัญญัติไทยเปรียบเทียบ
5.00
Icon RatingIcon RatingIcon RatingIcon RatingIcon Rating
1 Rating
หนังสือเรื่อง กระบวนการฝ่ายนิติบัญญัติไทยเปรียบเทียบ เล่มนี้ ผู้เขียนได้มีการวิเคราะห์ในเชิงทฤษฎีการเมืองเพิ่มเติม ผู้เขียนพยายามนำเสนอให้เห็นถึงกระบวนการฝ่ายนิติบัญญัติไทยที่มีหลักการ กฎ กติกา แนวปฏิบัติ และขั้นตอนต่างๆ นานาที่ผู้แทนของประชาชนในสภาใช้ในการพิจารณาร่างกฎหมายและปรึกษาหารือเรื่องอื่นๆ ที่จะตอบสนองและแก้ปัญหาให้ประชาชน

ในแง่นี้กระบวนการฝ่ายนิติบัญญัติไทยจึงกลายเป็นเวทีการต่อสู้ทางการเมืองอย่างหนึ่งของผู้คนหลากหลายกลุ่มโดยเป็นกระบวนการทางการเมืองที่สำคัญยิ่งในระบอบประชาธิปไตยเสรีนิยม ซึ่งหากกระทำในสภาที่มีสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งทางตรงของประชาชนก็จะมีความชอบธรรมทางการเมืองสูง

ตัวแสดงทางการเมืองต่างๆ ได้พยายามส่งอิทธิพลเข้าไปต่อสู้ในกระบวนการฝ่ายนิติบัญญัติไทยเพื่อปกป้องและรักษาผลประโยชน์ทั้งหลายของแต่ละกลุ่ม ในความเป็นจริงจึงมีกลุ่มผลประโยชน์มากมายที่อยู่เบื้องหลังที่คอยผลักดันให้กระบวนการฝ่ายนิติบัญญัติไทยเป็นไปในทิศทางที่กลุ่มตนต้องการ ซึ่งก็ถือเป็นปรากฏการณ์ปกติในระบอบประชาธิปไตยเสรีนิยม แม้จะมีการแข่งขันกันของกลุ่มหลากหลายก็จริงแต่จะมีบางกลุ่มที่มีพลังและอำนาจเหนือกลุ่มอื่นๆ เพราะแต่ละกลุ่มมีพลังและอำนาจไม่เท่ากัน

หนังสือเล่มนี้เป็นการสังเคราะห์องค์ความรู้จากงานวิจัยเกี่ยวกับกระบวนการฝ่ายนิติบัญญัติไทยเปรียบเทียบ โดยมุ่งเปรียบเทียบกระบวนการฝ่ายนิติบัญญัติไทยในประเด็นสำคัญ อาทิ รากฐานกระบวนการฝ่ายนิติบัญญัติไทย ระบบรัฐสภา กระบวนการฝ่ายนิติบัญญัติไทย ประเภทคณะกรรมาธิการ การแต่งตั้งคณะกรรมาธิการ การแต่งตั้งคณะอนุกรรมาธิการ การร่างกฎหมาย การตัดสินใจในการพิจารณาร่างกฎหมาย และกลุ่มผลประโยชน์

ผู้เขียนนำเสนอผลการสังเคราะห์มโนทัศน์องค์ความรู้ต่างๆ อาทิ รากฐานกระบวนการฝ่ายนิติบัญญัติไทย ระบบรัฐสภา กระบวนการฝ่ายนิติบัญญัติไทย ประเภทคณะกรรมาธิการ การแต่งตั้งคณะกรรมาธิการ การแต่งตั้งคณะอนุกรรมาธิการ การร่างกฎหมาย การตัดสินใจในการพิจารณาร่างกฎหมาย กลุ่มผลประโยชน์

สำหรับรายละเอียด หนังสือเล่มนี้แบ่งเป็น 5 บท ประกอบด้วย

บทที่ 1 หลักกระบวนการฝ่ายนิติบัญญัติไทย ผู้เขียนนำเสนอผลการสังเคราะห์มโนทัศน์องค์ความรู้ต่างๆ อาทิ รากฐานกระบวนการฝ่ายนิติบัญญัติไทย ระบบรัฐสภาของรัฐสภาไทย กระบวนการฝ่ายนิติบัญญัติไทยของรัฐสภาไทย ประเภทคณะกรรมาธิการของรัฐสภาไทย คณะกรรมาธิการสามัญของรัฐสภาไทย คณะกรรมาธิการวิสามัญของรัฐสภาไทย คณะกรรมาธิการร่วมของรัฐสภาไทย คณะกรรมาธิการเต็มสภาของรัฐสภาไทย การแต่งตั้งคณะกรรมาธิการของรัฐสภาไทย สัดส่วนคณะกรรมาธิการของรัฐสภาไทย ระยะเวลาการทำงานของคณะกรรมาธิการของรัฐสภาไทย

รวมถึงนำเสนอผลการสังเคราะห์มโนทัศน์องค์ความรู้เกี่ยวกับข้อเสนอแนะจากคณะกรรมาธิการของรัฐสภาไทย อำนาจแต่งตั้งคณะกรรมาธิการของรัฐสภาไทย การจัดสรรตำแหน่งในคณะกรรมาธิการของพรรคการเมือง ประธานคณะกรรมาธิการของรัฐสภาไทย การพ้นตำแหน่งคณะกรรมาธิการของรัฐสภาไทย การแต่งตั้งคณะอนุกรรมาธิการของรัฐสภาไทย

บทที่ 2 การเมืองการเสนอร่างกฎหมายของรัฐสภาไทย ผู้เขียนนำเสนอผลการสังเคราะห์มโนทัศน์องค์ความรู้ต่างๆ อาทิ การร่างกฎหมายของรัฐสภาไทย ผู้มีอำนาจเสนอร่างกฎหมายของรัฐสภาไทย อำนาจเสนอร่างกฎหมายของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อำนาจเสนอร่างกฎหมายของคณะรัฐมนตรี อำนาจเสนอร่างกฎหมายของประชาชน อำนาจเสนอร่างกฎหมายขององค์กรอิสระ

รวมถึงนำเสนอผลการสังเคราะห์มโนทัศน์องค์ความรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบร่างกฎหมายที่เสนอเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎร การพิจารณาร่างกฎหมายของรัฐสภาไทย การรับหลักการร่างกฎหมายของรัฐสภาไทย

บทที่ 3 การเมืองการแปรญัญติร่างกฎหมายของรัฐสภาไทย ผู้เขียนนำเสนอผลการสังเคราะห์มโนทัศน์องค์ความรู้ต่างๆ อาทิ การแปรญัญติร่างกฎหมายของรัฐสภาไทย การสงวนความเห็นในการแปรญัญติร่างกฎหมายไทย การสงวนคำแปรญัตติในการแปรญัญติร่างกฎหมายไทย การลงมติร่างกฎหมายของรัฐสภาไทย แนวปฏิบัติหลังร่างกฎหมายผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร ข้อสังเกตเกี่ยวกับกระบวนการร่างกฎหมายของรัฐสภาไทย

รวมถึงนำเสนอผลการสังเคราะห์มโนทัศน์องค์ความรู้เกี่ยวกับแนวปฏิบัติในการพิจารณาร่างกฎหมายไทยในวาระรับหลักการ แนวปฏิบัติกรณีที่มีร่างกฎหมายหลายฉบับของรัฐสภาไทย การพิจารณาร่างกฎหมายหลังวาระรับหลักการของผู้ขอแปรญัตติ การพิจารณาร่างกฎหมายหลังวาระรับหลักการของคณะกรรมาธิการ แนวปฏิบัติหลังคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างกฎหมายเสร็จสิ้น แนวปฏิบัติก่อนเสร็จสิ้นการพิจารณาร่างกฎหมายในวาระแปรญัตติ

บทที่ 4 การเมืองการลงมติร่างกฎหมายของรัฐสภาไทย ผู้เขียนนำเสนอผลการสังเคราะห์มโนทัศน์องค์ความรู้ต่างๆ อาทิ การดำเนินการพิจารณาร่างกฎหมายในวาระลงมติ รูปแบบการตัดสินใจในการพิจารณาร่างกฎหมายของรัฐสภาไทย แนวปฏิบัติหลังร่างกฎหมายผ่านสภาผู้แทนราษฎร รูปแบบการตัดสินใจในการพิจารณาร่างกฎหมายของวุฒิสภา การยืนยันร่างกฎหมายของสภาผู้แทนในกรณีวุฒิสภาใช้อำนาจยับยั้ง แนวปฏิบัติของการตั้งคณะกรรมาธิการร่วมเพื่อพิจารณาร่างกฎหมาย

รวมถึงนำเสนอผลการสังเคราะห์มโนทัศน์องค์ความรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของร่างกฎหมายที่จะประกาศใช้ แนวปฏิบัติระหว่างการยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมาย แนวปฏิบัติหลังศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมาย แนวปฏิบัติกรณีร่างกฎหมายขัดรัฐธรรมนูญ กรณีพระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจยับยั้งร่างกฎหมาย และกรณีนายกรัฐมนตรีใช้อำนาจยับยั้งร่างกฎหมาย รวมถึงการทำให้วุฒิสภา ศาลรัฐธรรมนูญ และนายกรัฐมนตรีมีความชอบธรรมทางการเมือง

บทที่ 5 การเมืองกลุ่มผลประโยชน์ในกระบวนการฝ่ายนิติบัญญัติไทย ผู้เขียนนำเสนอผลการสังเคราะห์มโนทัศน์องค์ความรู้ต่างๆ อาทิ กลุ่มผลประโยชน์ในกระบวนการฝ่ายนิติบัญญัติไทยของรัฐสภาไทย บทบาทกลุ่มผลประโยชน์ในกระบวนการฝ่ายนิติบัญญัติไทย กลุ่มผลประโยชน์ธุรกิจ กลุ่มผลประโยชน์ภาครัฐ และกลุ่มผลประโยชน์อื่นในกระบวนการฝ่ายนิติบัญญัติไทย

ส่วนสุดท้ายการสังเคราะห์องค์ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการฝ่ายนิติบัญญัติไทยเปรียบเทียบ

หนังสือเล่มนี้มีสาระสำคัญเกี่ยวกับประเด็นกระบวนการฝ่ายนิติบัญญัติไทย ซึ่งผู้เขียนได้เขียนหนังสือไว้หลายเล่ม

ในการนี้จึงขออวยพรให้ผู้อ่านทุกคนมีความสุขและมีชีวิตที่ดีที่สุดต่อไป

ไพรวัลย์ เคนพรม
ประเภทไฟล์
pdf
วันที่วางขาย
23 มกราคม 2563
ความยาว
237 หน้า
ราคาปก
179 บาท (ประหยัด 44%)
เขียนรีวิวและให้เรตติ้ง
หนังสือเล่มนี้ เปิดให้แสดงความคิดเห็นได้เฉพาะผู้ที่มีหนังสือฉบับเต็มเท่านั้น