Icon Close

การเมืองการปกครองไทยสมัยรัฐบาลสฤษดิ์ ธนะรัชต์

การเมืองการปกครองไทยสมัยรัฐบาลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
5.00
Icon RatingIcon RatingIcon RatingIcon RatingIcon Rating
2 Rating
ประเภทไฟล์
pdf
วันที่วางขาย
26 พฤศจิกายน 2562
ความยาว
276 หน้า
ราคาปก
179 บาท (ประหยัด 44%)
การเมืองการปกครองไทยสมัยรัฐบาลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
การเมืองการปกครองไทยสมัยรัฐบาลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
5.00
Icon RatingIcon RatingIcon RatingIcon RatingIcon Rating
2 Rating
หนังสือเรื่อง การเมืองการปกครองไทยสมัยรัฐบาลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เล่มนี้ ผู้เขียนได้มีการวิเคราะห์เชิงทฤษฎีเพิ่มเติมในหลายส่วน ซึ่งทำให้มีเนื้อหามากขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงต้องจัดระบบเนื้อหาใหม่ โดยมีการแบ่งเนื้อหาเป็นบท อีกทั้งยังมีการปรับปรุงเนื้อหาให้ทันสมัยยิ่งขึ้นและปรับสำนวนการเขียนในบางส่วนให้อ่านเข้าใจง่ายขึ้น

การเมืองการปกครองไทยสมัยรัฐบาลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อพัฒนาการทางการเมืองของไทยสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน โดยค่านิยมทางการเมืองตามวัฒนธรรมเผด็จการอำนาจนิยมได้ฝังรากลึกในวัฒนธรรมทางการเมืองของไทยจนไม่อาจเปลี่ยนแปลงไปสู่วัฒนธรรมประชาธิปไตยได้ง่ายนัก

การเมืองการปกครองไทยสมัยรัฐบาลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นสมัยแห่งการทำลายประชาธิปไตยเสรีนิยมให้แตกหักเพราะประชาธิปไตยเสรีนิยมถูกมองว่าเป็นประชาธิปไตยตะวันตก ซึ่งไม่เหมาะสมกับสังคมการเมืองไทย โดยไทยควรหันมาปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบไทยๆ ที่เน้นการใช้อำนาจเผด็จการอำนาจนิยมของผู้นำที่เด็ดขาดในลักษณะที่เรียกว่า เผด็จการพ่อขุนอุปถัมภ์

หนังสือเล่มนี้ได้แบ่งเนื้อหาออกเป็น 5 บท ประกอบด้วย
บทที่ 1 ชีวิตทางการเมือง ประกอบด้วยผลการวิเคราะห์ชีวิตทางการเมืองเกี่ยวกับประเด็นต่างๆ สมัยรัฐบาลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ อาทิ สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง การรัฐประหารและการเปลี่ยนแปลงนโยบายเศรษฐกิจของรัฐไทย การเมืองว่าด้วยการยึดทรัพย์ สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เพื่อสร้างความชอบธรรมทางการเมือง การพัฒนาเศรษฐกิจและการทำให้ประชาธิปไตยแตกหัก การสืบเนื่องของระบอบเผด็จการอำนาจนิยมและชีวิตทางการเมือง ความไม่นิยมการปกครองแบบตะวันตกและความนิยมการปกครองแบบไทย อิทธิพลของการศึกษาต่อความคิดทางการเมืองว่าด้วยเผด็จการอำนาจนิยม อิทธิพลของชีวิตทางการเมืองต่อความคิดทางการเมืองว่าด้วยเผด็จการอำนาจนิยม
การตั้งกลุ่มผลประโยชน์เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจ การใช้อำนาจ และการสืบทอดอำนาจทางการเมืองของกลุ่ม สฤษดิ์ ธนะรัชต์ และกลุ่ม เผ่า ศรียานนท์ ซึ่งนำมาสู่ประเด็นต่างๆ อีกหลายประเด็น อาทิ ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มในเรื่องผลประโยชน์และอำนาจทางการเมือง การแย่งชิงตำแหน่งกรรมการในรัฐวิสาหกิจและบริษัทเอกชนระหว่างกลุ่ม
รวมถึงผลการวิเคราะห์เกี่ยวกับการถอนตัวและการไม่ให้ความไว้วางใจรัฐบาล ป. พิบูลสงครามของกลุ่ม ชนชั้นกองทัพกลุ่มแทรกแซงทางการเมืองโดยการรัฐประหารรัฐบาล ป. พิบูลสงคราม การสร้างความชอบธรรมทางการเมืองให้กับการรัฐประหารและรัฐบาลคณะรัฐประหาร การกระชับอำนาจโดยการรัฐประหารซ้ำเพื่อยึดอำนาจรัฐบาลตนเอง การเมืองว่าด้วยความขัดแย้งทางการเมืองในเรื่องภาษีและการจ่ายเงินบำรุง และข้ออ้างของการรัฐประหารเพื่อความชอบธรรมทางการเมืองในการรัฐประหาร

บทที่ 2 ทฤษฎีการเมือง อุดมการณ์ทางการเมือง และการเมืองการปกครองไทย ประกอบด้วยผลการวิเคราะห์เกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางการเมืองสมัยรัฐบาลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในประเด็นต่างๆ อาทิ การเมืองการปกครอง การแสวงหาอำนาจทางการเมืองและการขยายตัวของอำนาจทางการเมือง อิทธิพลในฐานะหัวหน้าคณะรัฐประหารที่มีต่อรัฐบาลคณะรัฐประหาร การก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและออกแบบระบบการเมือง การเมืองว่าด้วยการแก้ปัญหาการเงินการคลังของประเทศ การเมืองว่าด้วยรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวเพื่อกระชับอำนาจทางการเมือง การเมืองว่าด้วยเผด็จการพ่อขุนอุปถัมภ์
การพัฒนาประเทศให้ทันสมัย การมีพฤติกรรมคอร์รัปชั่นของผู้นำทางการเมืองและเครือข่ายชนชั้นนำทางการเมือง การคอร์รัปชั่นและการพัฒนาประเทศให้ทันสมัย กระบวนการต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ ภัยคุกคามจากลัทธิคอมมิวนิสต์ภายนอกประเทศ การเมืองว่าด้วยข้ออ้างการรัฐประหารเรื่องภัยคุกคามจากลัทธิคอมมิวนิสต์ภายนอกประเทศ การทำลายศัตรูทางการเมืองในนามการจัดการภัยคุกคามจากลัทธิคอมมิวนิสต์ ผลลัพธ์ของการทำลายศัตรูทางการเมืองในนามการจัดการภัยคุกคามจากลัทธิคอมมิวนิสต์ การทำลายศัตรูทางการเมืองในนามการกระทำที่เป็นกบฏทรยศต่อประเทศชาติ นโยบายการปราบปรามคอมมิวนิสต์และป้องกันการแพร่ขยายของแนวคิดคอมมิวนิสต์
รวมถึงผลการวิเคราะห์เกี่ยวกับการให้ความหมายของคอมมิวนิสต์ตามนโยบายการปราบปรามคอมมิวนิสต์และป้องกันการแพร่ขยายของแนวคิดคอมมิวนิสต์ การป้องกันการรุกรานของฝ่ายขบวนการคอมมิวนิสต์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เข้าสู่ไทย สัญญาถนัด-รัสค์ เพื่อการป้องกันการรุกรานของฝ่ายขบวนการคอมมิวนิสต์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อิทธิพลของการพัฒนาทางเศรษฐกิจและจริยธรรมทางการเมือง ราคาที่ต้องจ่ายของการใช้อำนาจเผด็จการอำนาจนิยมในการปกครองและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ

บทที่ 3 รัฐธรรมนูญ กลุ่มผลประโยชน์และพรรคการเมืองไทย ประกอบด้วยผลการวิเคราะห์เกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางการเมืองสมัยรัฐบาลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในประเด็นต่างๆ อาทิ การเมืองว่าด้วยรัฐธรรมนูญ การรวมศูนย์อำนาจทางการเมืองแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดเข้าสู่คณะรัฐประหารตามรัฐธรรมนูญ อำนาจพิเศษแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 17 อำนาจควบคุมฝ่ายนิติบัญญัติแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ตามรัฐธรรมนูญ การเมืองว่าด้วยพรรคการเมือง การเมืองว่าด้วยพรรคการเมืองและการเลือกตั้งทั่วไป
รวมถึงผลการวิเคราะห์เกี่ยวกับการเมืองว่าด้วยการปกครองด้วยประกาศคณะรัฐประหาร ผลจากการใช้อำนาจรัฐและการลิดรอนเสรีภาพทางการเมืองของประชาชนจากคณะรัฐประหาร การปกครองระบอบเผด็จการอำนาจนิยมที่อำนาจสูงสุดอยู่ที่นายกรัฐมนตรี การควบคุมสื่อมวลชนและการใช้อำนาจรัฐกำจัดศัตรูทางการเมือง ระบบหลายพรรคการเมืองภายใต้อำนาจรัฐบาลเผด็จการอำนาจนิยม บทบาทและการแข่งขันของพรรคการเมืองภายใต้อำนาจรัฐบาลเผด็จการอำนาจนิยม การทำลายพรรคการเมืองที่เป็นศัตรูทางการเมือง

บทที่ 4 วัฒนธรรมเผด็จการอำนาจนิยม ทหารนิยม การสร้างค่านิยมใหม่ให้ทันสมัย และชาตินิยม ประกอบด้วยผลการวิเคราะห์เกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางการเมืองสมัยรัฐบาลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในประเด็นต่างๆ อาทิ การสร้างวัฒนธรรมเผด็จการอำนาจนิยม การปฏิเสธวัฒนธรรมประชาธิปไตยตามวิถีประชาธิปไตยเสรีนิยม การปลูกฝังวัฒนธรรมเผด็จการอำนาจนิยมโดยสร้างความกลัวให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชน การเมืองว่าด้วยเอกลักษณ์เผด็จการอำนาจนิยม การเมืองว่าด้วยการแก้ปัญหาสำคัญเร่งด่วนด้วยอำนาจเผด็จการอำนาจนิยม
ระเบียบการเมืองตามระบอบเผด็จการพ่อขุนอุปถัมภ์ การควบคุมประชาชนตามระบอบเผด็จการพ่อขุนอุปถัมภ์ การจัดการประเทศเสมือนการจัดการครัวเรือนตามระบอบเผด็จการพ่อขุนอุปถัมภ์ บทบาทของสื่อมวลชนภายใต้ระบอบเผด็จการพ่อขุนอุปถัมภ์ การควบคุมการเคลื่อนไหวทางสังคมการเมืองภายใต้ระบอบเผด็จการพ่อขุนอุปถัมภ์ พ่อปกครองลูก อนุรักษนิยม เผด็จการอำนาจนิยม ทหารนิยม และชาตินิยม
รวมถึงผลการวิเคราะห์เกี่ยวกับกระบวนการสร้างให้เกิดความกลัว วิธีการปราบปรามที่คณะรัฐประหารมอบอำนาจให้แก่เจ้าพนักงานฝ่ายปกครอง การใช้อำนาจสั่งประหารชีวิตประชาชนโดยไม่ผ่านกระบวนการยุติธรรม ผลกระทบของกระบวนการสร้างให้เกิดความกลัว

บทที่ 5 การมีส่วนร่วมทางการเมือง หน้าที่พลเมือง รัฐ และประชาสังคมในระบบการเมือง ประกอบด้วยผลการวิเคราะห์เกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางการเมืองสมัยรัฐบาลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในประเด็นต่างๆ อาทิ การเมืองว่าด้วยการมีส่วนร่วมทางการเมือง การมีหน้าที่ต่อรัฐโดยปราศจากสิทธิและเสรีภาพทางการเมือง การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมทางการเมืองสู่วัฒนธรรมเผด็จการอำนาจนิยมที่เข้มข้น อำนาจนิยม พ่อขุนอุปถัมภ์ การสร้างให้เกิดความกลัว การพัฒนาประเทศให้ทันสมัย การต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ ภาคปฏิบัติของระบอบเผด็จการพ่อขุนอุปถัมภ์ ความหวาดกลัวของประชาชนต่อการใช้อำนาจพิเศษตามระบอบเผด็จการพ่อขุนอุปถัมภ์
การเมืองว่าด้วยหน้าที่พลเมืองแบบเผด็จการพ่อขุนอุปถัมภ์ ผลกระทบของหน้าที่พลเมืองแบบเผด็จการพ่อขุนอุปถัมภ์ รัฐและประชาสังคมในระบบการเมือง ประเด็นการเคลื่อนไหวทางสังคมการเมืองภายใต้รัฐระบบเผด็จการอำนาจนิยม เป้าหมายของรัฐบาลเผด็จการอำนาจนิยม
รวมถึงผลการวิเคราะห์เกี่ยวกับผลกระทบของนโยบายการปราบปรามคอมมิวนิสต์ และป้องกันการแพร่ขยายของแนวคิดคอมมิวนิสต์ ผลกระทบของสัญญาถนัด-รัสค์ ในการปราบปรามคอมมิวนิสต์และการทำสงครามในประเทศเพื่อนบ้าน การสร้างความสงบเรียบร้อยของชาติและการสร้างเสถียรภาพทางการเมือง

สุดท้ายเป็นเนื้อหาการสังเคราะห์การเมืองการปกครองไทยสมัยรัฐบาลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
หนังสือเล่มนี้มีสาระสำคัญเกี่ยวกับประเด็นการเมืองการปกครองไทย ซึ่งผู้เขียนได้เขียนหนังสือไว้หลายเล่ม
ในการนี้จึงขออวยพรให้ผู้อ่านทุกคนมีความสุขและมีชีวิตที่ดีที่สุดต่อไป

ไพรวัลย์ เคนพรม
ประเภทไฟล์
pdf
วันที่วางขาย
26 พฤศจิกายน 2562
ความยาว
276 หน้า
ราคาปก
179 บาท (ประหยัด 44%)
เขียนรีวิวและให้เรตติ้ง
หนังสือเล่มนี้ เปิดให้แสดงความคิดเห็นได้เฉพาะผู้ที่มีหนังสือฉบับเต็มเท่านั้น